หน่วยที่ 4 เรื่อง วัสดุ อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ กลไก
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการทำงานช่าง
วัสดุและอุปกรณ์งานไม้
วัสดุประเภทไม้ ไม้ที่นิยมนำมาใช้จำแนกตามลักษณะเนื้อไม้และคุณสมบัติของไม้ได้เป็น 3 ประเภท คือไม้เนื้อแข็ง ไม้เนื้อปานกลาง ไม้เนื้ออ่อน
ปัจจุบันไม้แปรรูปที่นิยมนำมาใช้ทำเครื่องเรือนกันมาก คือ ไม้อัดและแผ่นไฟเบอร์
อุปกรณ์งานไม้
1. อุปกรณ์การวัด (Measuring Tools)
2. อุปกรณ์ทำเครื่องหมาย (Marking Layout Tools)
3. อุปกรณ์ตัดไม้ (Cutting Tools)
4. เครื่องมือไสไม้ (Wood Planning Tools)
วิธีการทำงานไม้
การเข้าไม้ (Wood Joints)1. การเข้าชน (Butt Joints)
2. การเข้าเซาะร่อง (Housing Joints)
3. การเข้าเดือยและรูเดือย (Mortise and Tenon Joints)
อุปกรณ์งานไฟฟ้า- ค้อนเดินสายไฟฟ้า มีลักษณะเหมือนค้อนตีเหล็กแต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้ตอกตะปูยึดเข็มขัดรัดสายฟ้า
- บักเต้า เป็นกล่องใส่ด้ายสีใช้ตีเส้นก่อนตอกตะปูเดินสายไฟฟ้า เวลาใช้ดึงเส้นด้ายขึ้นแล้วปล่อย เส้นด้ายจะตกกระทบกับพื้นเกิดเป็นรอยเส้น
- บิดหล่า ใช้เจาะรูฝาผนังติดตั้งคัตเอาต์
- มัลติมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดไฟฟ้าอเนกประสงค์ วัดได้ทั้งแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความต้านทานไฟฟ้า ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ
- สว่านเจาะปูน มีมอเตอร์ในตัวสว่าน มีกำลังแรงมากกว่าสว่านเจาะไม้ ดอกสว่านเป็นเกลียวบิดทำจากเหล็กกล้า ใช้เจาะปูนโดยเฉพาะ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานไฟฟ้า
1. การเกิดประจุไฟฟ้าและศักย์ไฟฟ้าประจุไฟฟ้าและศักย์ไฟฟ้า พร้อมที่จะเคลื่อนที่ตลอดเวลาเมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ซึ่งอำนาจการดึงดูดของประจุไฟฟ้าขึ้นอยู่กับขั้วและความเข้มของประจุไฟฟ้านั้น ๆ
2. การเคลื่อนที่ของไฟฟ้า การที่อิเล็กตรอนวิ่งเคลื่อนที่จะเกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้า (Discharge) การถ่ายเทประจุไฟฟ้าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องต้องมีพลังงาน
3. ตัวนำไฟฟ้า สารกึ่งตัวนำไฟฟ้า และฉนวนไฟฟ้า จำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุดจะเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณสมบัติทางไฟฟ้า
การต่อวงจรไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วงจรเปิด (Open Circuit) วงจรปิด (Closed Circuit)มีวิธีการต่อคือ1) การต่อวงจรแบบอนุกรม (Series Circuit)
2) การต่อวงจรแบบขนาน (Parallel Circuit)
3) การต่อวงจรแบบผสม (Compound Circuit)
ความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์1. ตัวต้านทาน (Resistor) ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า
2. ตัวเก็บประจุ (Capacitor) ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อสัญญาณไฟฟ้า
3. ตัวเหนี่ยวนำ (Inductor) สามารถสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
4. ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิด 3 ตอนต่อชนกัน โดยใช้สารกึ่งตัวนำชนิด P และชนิด N ทรานซิสเตอร์ต้องสร้างให้ตัวนำตอนกลางแคบที่สุดมีขาต่อ 3 ขา คือ ขาเบส (Base : B) ขาคอลเล็กเตอร์ (Collector : C) และอิมิตเตอร์ (Emitter : E)
5. สวิตช์ (Switch) ทำหน้าที่ตัดต่อวงจรไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของวงจร
6. ฟิวส์ (Fuse) ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ระบบไฟฟ้าเสียหาย
7. ปลั๊ก (Plug) เวลาใช้งานต้องนำไปเสียบเข้ากับแจ๊ก ทำให้เกิดการต่อระบบเข้าด้วยกัน
8. แจ๊ก (Jack) มีลักษณะเป็นรูหรือช่องใช้งาน การเลือกใช้งานต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องกับงานนั้น ๆ
วงจรอิเล็กทรอนิกส์(Electrical Circuit) ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน จึงจัดได้ว่าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่เป็นโหลดของวงจรไฟฟ้า
ระบบกลไกและการควบคุม
ระบบกลไก
หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อน โดยมีการจัดสรรอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 3 ส่วน
1. ส่วนป้อนข้อมูล (Input)
2. ส่วนประมวลผลข้อมูล (Process)
3. ส่วนแสดงผลข้อมูล (Output)
กลไก มีหน้าที่หลักในการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหว เพื่อให้สามารถทำงานได้
ส่วนประกอบของกลไก - ตะปูเกลียว - สปริง - รอก – เฟืองหรือเกียร์ - คานงัด
ระบบการควบคุม
องค์ประกอบของระบบการควบคุม
1. Measuring Device เป็นอุปกรณ์ที่ให้สัญญาณขาออก
2. Controller ทำหน้าที่กำหนดสัญญาณควบคุมตามที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
3. Final Control Element ทำหน้าที่ปรับสภาวะของกระบวนการ
4. Process คือ กระบวนการทางฟิสิกข์ที่ต้องการควบคุมให้มีสภาวะการทำงานตามต้องการ
ประเภทของการควบคุม แบ่งตามกฎเกณฑ์ 2 ประการ ดังนี้
1) ระบบควบคุมแบบ Open Loop เหมาะกับระบบที่ตัวป้อนของระบบจะมีการเปลี่ยนแปลง
2) ระบบควบคุมแบบ Closed Loop เป็นระบบควบคุมแบบป้อนกลับ (Feedback Control) จะใช้เมื่อไม่ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอินพุต
เทคโนโลยีในการควบคุม
มีไว้สำหรับควบคุมเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีในการควบคุมที่นิยมเลือกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มีดังนี้
1. การควบคุมนิวเมติกส์ (Pneumatics) เป็นการถ่ายกำลังโดยอาศัยความดันลม
2. การควบคุมไฮดรอลิก (Hydraulic) เกี่ยวข้องกับการส่งผ่านกำลังของไหล โดยใช้น้ำมันเป็นตัวกลาง จุดเด่นของระบบไฮดรอลิก คือการใช้แรงเพียงเล็กน้อยในการควบคุมแรงขนาดใหญ่
3. การควบคุมมอเตอร์ (Motor Control) โดยใช้แมกเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor) เป็นสวิตช์เปิดปิดเพื่อควบคุมการทำงานของมอเตอร์โดยตรง
4. การควบคุมด้วยระบบซีเอ็นซี (CNC : Computer Numerical Control) พัฒนามาจากระบบควบคุมเอ็นซี (NC: Numerical Control) มีความแตกต่างกัน คือ ระบบซีเอ็นซีจะใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมการทำงานของเครื่องจักร
แหล่งที่มาของเนื้อหา :
สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th
http://www.trueplookpanya.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น