วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

หน่วยที่ 6 ใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์


ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
เกี่ยวข้องกับความต้องการในปัจจัยสี่ของมนุษย์
เทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
เทคโนโลยีที่มีประโยชน์กับชีวิตมีหลายด้าน เช่น
1. เทคโนโลยีอาหาร (Food Technology) 
หมายถึง การนำความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารให้มีคุณภาพและมีปริมาณเพิ่มขึ้น


2. เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) 
คือ การนำชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์มาทำให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลง โดยกระบวนการทางชีววิทยา


3. เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม 
หมายถึง การนำเทคโนโลยีต่าง ๆมาใช้ในกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยผ่านช่องทางสื่อสาร


4. เทคโนโลยีสิ่งทอ (Textile Technology) 
หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตสิ่งทอ


5. นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnolog) 
หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการ การสร้าง และการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กมากๆ รวมถึงการออกแบบหรือการประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้สร้างหรือวิเคราะห์


การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยี
ต้องแสวงหาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ นอกจากนี้เทคโนโลยียังมีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ ดังนั้นการเลือกใช้เทคโนโลยีจึงควรพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เทคโนโลยีเป็นสำคัญ
ปัจจัย 
มีดังนี้
1. ปัจจัยทางการตลาด
2. ปัจจัยที่เกี่ยวกับการลงทุน
3. ปัจจัยทางเทคโนโลยีการผลิต
4. ปัจจัยด้านความเหมาะสมของเทคโนโลยี
5. ปัจจัยเกี่ยวกับการประเมินผลเทคโนโลยี
เทคโนโลยีสะอาดหมายถึง กลยุทธ์ในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เพื่อจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์
ปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง เข้าใจปัญหาและร่วมกันหาทางแก้ปัญหา มีการจัดสรรและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยประหยัดการใช้สิ่งต่างๆ โดยกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ ช่วยปรับปรุงสภาพการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ทำให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและกำไร ช่วยลดการเกิดของเสียในโรงงานอุตสาหกรรมและกำจัดของเสียได้ง่าย ช่วยทำให้สถานประกอบการมีความสะอาด และเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อสังคม ช่วยลดมลพิษและลดการสะสมตัวของความเป็นพิษต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม ช่วยแบ่งเบาการติดตามตรวจสอบของภาครัฐ ช่วยส่งเสริมภาพพจน์ของประเทศไทยในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และเพิ่มศักยภาพในการส่งออก
หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
1. การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ
1) การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์
2) การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต
2. การนำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ
1) การนำผลิตภัณฑ์มาใช้ใหม่
2) การใช้เทคโนโลยี


การเลือกใช้เทคโนโลยีด้วยวิธีการของเทคโนโลยีสะอาด
เทคโนโลยีสะอาดเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยเพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ประหยัด ลดความเสี่ยงอุบัติเหตุ เพิ่มความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจ
ขั้นตอนการเลือกใช้ มีดังนี้
1. การวางแผนและจัดองค์การ
2. การประเมินเบื้องต้น
3. การประเมินโดยละเอียด
4. การศึกษาความเป็นไปได้
5. การลงมือปฏิบัติ
6. การติดตามประเมินผล
หลักการของเทคโนโลยีสะอาดจะเกี่ยวข้องกับวิธีการต่อไปนี้1. การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
2. การใช้ซ้ำ (Reuse)
3. การลดการใช้ (Reduce)


การเลือกใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับทรัพยากรย่อมก่อให้เกิดมลพิษ มลพิษแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ การลดปริมาณมลพิษ รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ด้วยวิธีการ Recycle มีการเลือกใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ในการบำบัดหรือกำจัดของเสีย เป็นการนำหลักการมาใช้เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
1. ของเสียที่เป็นของแข็ง มีวิธีการกำจัดหรือบำบัดดังนี้
1.1 ระบบการแยก ผ่านกระบวนการ Recycle
1.2 ระบบการกรอง ส่วนของเหลวที่ทะลุผ่านนั้นอาจใช้สารเคมีทำให้ตกตะกอน แล้วนำไปกำจัด หรือนำกลับไปใช้ใหม่ หรือมีการฆ่าเชื้อเฉพาะของเหลวที่เป็นน้ำ
1.3 ระบบการฝังกลบ ใช้สำหรับกำจัดขยะมูลฝอยโดยกลบหลุมให้แน่น
1.4 ระบบการทำปุ๋ยหมัก ใช้กับของเสียที่เป็นสารอินทรีย์เพื่อฝังกลบในบ่อหมัก
1.5 ระบบการเผา ต้องใช้ความร้อนสูง อาจก่อให้เกิดสารพิษ ดังนั้นควรออกแบบระบบการเผาโดยใช้เตาเผาและเครื่องกรองอากาศเพื่อกำจัดสารพิษ2. ของเสียที่เป็นของเหลว มีวิธีการกำจัดหรือบำบัดดังนี้
2.1 ระบบการใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย ใช้กับน้ำเสีย
2.2 ระบบการตกตะกอน
2.3 ระบบการแปรรูป ใช้กับน้ำมันและไขมัน
3. ของเสียที่เป็นก๊าซและฝุ่นละออง การใช้ระบบ การตกตะกอน และมีการใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบแม่เหล็กไฟฟ้าสถิตดูดอีกด้วย


แหล่งที่มาของเนื้อหา : 
สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th
http://www.trueplookpanya.com

หน่วยที่ 5 เรื่อง สิ่งของเครื่องใช้สร้างได้ไม่ยาก

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
 

การสร้างสิ่งของเครื่องใช้
ต้องอาศัยขั้นตอนของกระบวนการเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการสร้าง


การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการเทคโนโลยีมี 7 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนที่ 3 การเลือกวิธีการแก้ปัญหา
ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบและปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบ
ขั้นตอนที่ 6 การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา
ขั้นตอนที่ 7 การประเมินผล
ตัวอย่างการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยี
การสร้างชั้นวางของ1. ต้องการทำชั้นวางของเพื่อวางหนังสือ
2. ชั้นวางของมีลักษณะหลากหลายรูปแบบและใช้วัสดุในการผลิตที่แตกต่างกัน 
1) ชั้นวางของรูปทรงสี่เหลี่ยมทำจากไม้ มีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับวางของใช้ที่มีน้ำหนักปานกลาง ข้อดีคือ ดูแลรักษาง่ายและมีความสวยงาม ข้อเสียคือ แมลงกัดกินเนื้อไม้ได้ง่าย ถ้าไม่ทาน้ำมันทาไม้
2) ชั้นวางของรูปทรงสี่เหลี่ยมทำจากกระดาษ มีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับวางของใช้ที่มีน้ำหนักเบา ข้อดีคือ สามารถดัดแปลงรูปร่างได้ง่ายและราคาถูก ข้อเสียคือ ไม่ทนต่อความชื้น ขาดง่าย
3) ชั้นวางของรูปทรงสี่เหลี่ยมทำจากสเตนเลส เหมาะสำหรับวางของใช้ที่มีน้ำหนักมาก ข้อดีคือ มีความแข็งแรงและทนทาน ข้อเสียคือ มีราคาแพง และเกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย
4) ชั้นวางของรูปทรงสี่เหลี่ยมทำจากพลาสติก เหมาะสำหรับวางของใช้ที่มีน้ำหนักปานกลาง ข้อดีคือ มีน้ำหนักเบา ประกอบชิ้นส่วนได้ง่าย และเคลื่อนย้ายสะดวก ข้อเสียคือ แตกหักง่าย 


3. ทำชั้นวางของโดยเลือกไม้ ซึ่งมีราคาถูก และทำได้ง่าย
4. การออกแบบชั้นวางของ มีขั้นตอนดังนี้
- ต้องการออกแบบชั้นวางของมีขนาด 3 ชั้น ทำจากไม้ มีความแข็งแรง รูปแบบทันสมัย และสวยงาม
- สร้างทางเลือกหรือออกแบบชิ้นงาน โดยออกแบบชิ้นงานไว้หลาย ๆ แบบ
- ตัดสินใจเลือกแบบที่ดีที่สุด พิจารณาข้อดีและข้อเสียของแต่ละแบบ
- พัฒนาปรับปรุงข้อบกพร่องของชิ้นงาน โดยนำแบบที่เลือกมาวางแผนการผลิต พร้อมทั้งพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น 


5. นำหนังสือมาวางบนชั้นวางของและสังเกตดูว่าเอียงหรือไม่
6. ถ้าเอียงหรือไม่เท่ากันอาจแก้ไขโดยประกอบใหม่อีกครั้ง หรือลดขนาดชั้น
การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งของเครื่องใช้
จำเป็นต้องมีการพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพ
การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์
วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของการออกแบบ นอกจากนี้ยังเป็นการวิเคราะห์วิธีการที่ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

ปัญหาและสาเหตุที่พบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1. ความรีบร้อนมากเกินไป
2. ขาดการศึกษาวิจัยตลาดอย่างละเอียด
3. การละเลยในช่วงแรกของกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
4. กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มีคุณภาพต่ำ
5. ตลาดมีการแข่งขันสูง
6. ผลิตภัณฑ์ด้อยคุณภาพในสายตาของลูกค้า
7. ขาดแคลนทรัพยากร
8. ขาดระบบการบริหารที่มีประสิทธิผล
แนวทางการแก้ไข
1. หาข้อมูลเกี่ยวกับตลาดที่มีคุณภาพให้มากขึ้น
2. เพิ่มความระมัดระวังในการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์
3. การประเมินแนวความคิดเบื้องต้น การวิเคราะห์ทางการเงินและธุรกิจ
4. เพิ่มความรอบคอบในการวางแผนและดำเนินงานมากยิ่งขึ้น
5. ให้ข้อมูลที่เพียงพอแก่ผู้บริหารระดับสูง
6. ให้ความรู้ที่จำเป็นแก่ลูกค้า
7. วางแผนเพื่อเตรียมพร้อมรับการตอบโต้จากคู่แข่งขันทุกรูปแบบ
8. หมั่นตรวจสอบต้นทุน รายได้ และกำไรที่คาดหวังไว้อยู่เสมอ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ประกอบด้วยกระบวนการทำงาน 3 ด้าน ดังนี้
1. กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
2. กระบวนการประเมินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
3. กระบวนการวางแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่
ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ประสบผลสำเร็จผู้บริหารจะต้องสร้างสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรที่เหมาะสมเพื่อการกระตุ้นและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยเปิดโอกาสให้พนักงานมีช่วงเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่นได้ สนับสนุนให้พนักงานใช้ประโยชน์จากเวลาว่างในการทำงาน จัดตั้งทีมงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีสมาชิกมาจากหลากหลายหน้าที่
ก่อนจะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด ต้องผ่านกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเป็นระบบ ดังนี้
1. ความจำเป็นหรือผลประโยชน์
2. รูปแบบ
3. เทคโนโลยี

เทคนิคในการสร้างแนวความคิดเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
 มีวิธีการดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากผลิตภัณฑ์เดิม
2. การวิเคราะห์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์


3. เทคนิค SCAMPER กล่าวคือ มีการกำหนดหัวข้อที่จะถามและการเรียงลำดับคำถามที่แน่นอน
4. การเปลี่ยนมุมมอง
5. การเปลี่ยนแปลงสมมุติฐาน


ปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ประสบผลสำเร็จ

1. ศึกษาวิจัยตลาดโดยละเอียด
2. การเปลี่ยนแปลงทางการตลาดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
3. ผลิตภัณฑ์ใหม่จะต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผล
4. การวางแผนการพัฒนาอย่างละเอียดรอบคอบก่อนดำเนินการ
5. ผู้บริหารสูงสุดให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
6. กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นกระบวนการที่มีคุณภาพดี
7. มีวิธีการประเมินผลความสำเร็จ และติดตามตรวจสอบผลการดำเนินโครงการ


แหล่งที่มาของเนื้อหา :
 สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th
http://www.trueplookpanya.com

หน่วยที่ 4 เรื่อง วัสดุ อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ กลไก

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
 

วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการทำงานช่าง
วัสดุและอุปกรณ์งานไม้
วัสดุประเภทไม้
 ไม้ที่นิยมนำมาใช้จำแนกตามลักษณะเนื้อไม้และคุณสมบัติของไม้ได้เป็น 3 ประเภท คือไม้เนื้อแข็ง ไม้เนื้อปานกลาง ไม้เนื้ออ่อน
ปัจจุบันไม้แปรรูปที่นิยมนำมาใช้ทำเครื่องเรือนกันมาก คือ ไม้อัดและแผ่นไฟเบอร์
อุปกรณ์งานไม้
1. อุปกรณ์การวัด (Measuring Tools)

    

2. อุปกรณ์ทำเครื่องหมาย (Marking Layout Tools)

    

3. อุปกรณ์ตัดไม้ (Cutting Tools)

  

4. เครื่องมือไสไม้ (Wood Planning Tools)

  
    

วิธีการทำงานไม้
การเข้าไม้ (Wood Joints)
1. การเข้าชน (Butt Joints)

    

2. การเข้าเซาะร่อง (Housing Joints)

    
  

3. การเข้าเดือยและรูเดือย (Mortise and Tenon Joints)

    
    
  

อุปกรณ์งานไฟฟ้า
- ค้อนเดินสายไฟฟ้า มีลักษณะเหมือนค้อนตีเหล็กแต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้ตอกตะปูยึดเข็มขัดรัดสายฟ้า
- บักเต้า เป็นกล่องใส่ด้ายสีใช้ตีเส้นก่อนตอกตะปูเดินสายไฟฟ้า เวลาใช้ดึงเส้นด้ายขึ้นแล้วปล่อย เส้นด้ายจะตกกระทบกับพื้นเกิดเป็นรอยเส้น
- บิดหล่า ใช้เจาะรูฝาผนังติดตั้งคัตเอาต์
- มัลติมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดไฟฟ้าอเนกประสงค์ วัดได้ทั้งแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความต้านทานไฟฟ้า ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ
- สว่านเจาะปูน มีมอเตอร์ในตัวสว่าน มีกำลังแรงมากกว่าสว่านเจาะไม้ ดอกสว่านเป็นเกลียวบิดทำจากเหล็กกล้า ใช้เจาะปูนโดยเฉพาะ


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานไฟฟ้า
1. การเกิดประจุไฟฟ้าและศักย์ไฟฟ้า
ประจุไฟฟ้าและศักย์ไฟฟ้า พร้อมที่จะเคลื่อนที่ตลอดเวลาเมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ซึ่งอำนาจการดึงดูดของประจุไฟฟ้าขึ้นอยู่กับขั้วและความเข้มของประจุไฟฟ้านั้น ๆ


2. การเคลื่อนที่ของไฟฟ้า 
การที่อิเล็กตรอนวิ่งเคลื่อนที่จะเกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้า (Discharge) การถ่ายเทประจุไฟฟ้าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องต้องมีพลังงาน


3. ตัวนำไฟฟ้า สารกึ่งตัวนำไฟฟ้า และฉนวนไฟฟ้า 
จำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุดจะเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณสมบัติทางไฟฟ้า


การต่อวงจรไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วงจรเปิด (Open Circuit) วงจรปิด (Closed Circuit)มีวิธีการต่อคือ
1) การต่อวงจรแบบอนุกรม (Series Circuit)


2) การต่อวงจรแบบขนาน (Parallel Circuit)


3) การต่อวงจรแบบผสม (Compound Circuit)


ความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
1. ตัวต้านทาน (Resistor) ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า

  
    

2. ตัวเก็บประจุ (Capacitor) ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อสัญญาณไฟฟ้า

    
    

3. ตัวเหนี่ยวนำ (Inductor) สามารถสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า

   

4. ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิด 3 ตอนต่อชนกัน โดยใช้สารกึ่งตัวนำชนิด P และชนิด N ทรานซิสเตอร์ต้องสร้างให้ตัวนำตอนกลางแคบที่สุดมีขาต่อ 3 ขา คือ ขาเบส (Base : B) ขาคอลเล็กเตอร์ (Collector : C) และอิมิตเตอร์ (Emitter : E)


5. สวิตช์ (Switch) ทำหน้าที่ตัดต่อวงจรไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของวงจร


6. ฟิวส์ (Fuse) ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ระบบไฟฟ้าเสียหาย


7. ปลั๊ก (Plug) เวลาใช้งานต้องนำไปเสียบเข้ากับแจ๊ก ทำให้เกิดการต่อระบบเข้าด้วยกัน


8. แจ๊ก (Jack) มีลักษณะเป็นรูหรือช่องใช้งาน การเลือกใช้งานต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องกับงานนั้น ๆ

    

วงจรอิเล็กทรอนิกส์(Electrical Circuit)
 ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน จึงจัดได้ว่าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่เป็นโหลดของวงจรไฟฟ้า

    

ระบบกลไกและการควบคุม

ระบบกลไก
หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อน โดยมีการจัดสรรอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 3 ส่วน
1. ส่วนป้อนข้อมูล (Input)
2. ส่วนประมวลผลข้อมูล (Process)
3. ส่วนแสดงผลข้อมูล (Output)
กลไก มีหน้าที่หลักในการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหว เพื่อให้สามารถทำงานได้


ส่วนประกอบของกลไก - ตะปูเกลียว - สปริง - รอก – เฟืองหรือเกียร์ - คานงัด

   

ระบบการควบคุม

องค์ประกอบของระบบการควบคุม
1. Measuring Device เป็นอุปกรณ์ที่ให้สัญญาณขาออก
2. Controller ทำหน้าที่กำหนดสัญญาณควบคุมตามที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
3. Final Control Element ทำหน้าที่ปรับสภาวะของกระบวนการ
4. Process คือ กระบวนการทางฟิสิกข์ที่ต้องการควบคุมให้มีสภาวะการทำงานตามต้องการ
ประเภทของการควบคุม แบ่งตามกฎเกณฑ์ 2 ประการ ดังนี้
1) ระบบควบคุมแบบ Open Loop เหมาะกับระบบที่ตัวป้อนของระบบจะมีการเปลี่ยนแปลง


2) ระบบควบคุมแบบ Closed Loop เป็นระบบควบคุมแบบป้อนกลับ (Feedback Control) จะใช้เมื่อไม่ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอินพุต


เทคโนโลยีในการควบคุม

มีไว้สำหรับควบคุมเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีในการควบคุมที่นิยมเลือกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มีดังนี้
1. การควบคุมนิวเมติกส์ (Pneumatics) เป็นการถ่ายกำลังโดยอาศัยความดันลม
2. การควบคุมไฮดรอลิก (Hydraulic) เกี่ยวข้องกับการส่งผ่านกำลังของไหล โดยใช้น้ำมันเป็นตัวกลาง จุดเด่นของระบบไฮดรอลิก คือการใช้แรงเพียงเล็กน้อยในการควบคุมแรงขนาดใหญ่
3. การควบคุมมอเตอร์ (Motor Control) โดยใช้แมกเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor) เป็นสวิตช์เปิดปิดเพื่อควบคุมการทำงานของมอเตอร์โดยตรง
4. การควบคุมด้วยระบบซีเอ็นซี (CNC : Computer Numerical Control) พัฒนามาจากระบบควบคุมเอ็นซี (NC: Numerical Control) มีความแตกต่างกัน คือ ระบบซีเอ็นซีจะใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมการทำงานของเครื่องจักร


แหล่งที่มาของเนื้อหา : 
สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th
http://www.trueplookpanya.com